วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคเหี่ยว โรคเน่า... วันนี้..คุณทำประกันชีวิตให้กับพืชคุณหรือยัง?

วันนี้..คุณทำประกันชีวิตให้กับพืชคุณหรือยัง? 

โลกสดใส เมื่อเกษตรกรไทยลดการใช้สารเคมี
ออร์กาเนลไลฟ์ ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทุกอย่าง
จึงเน้นสารอินทรีย์ที่จะนำมาปกป้องและคุ้มครองพืชผลทางการเกษตรของไทย
วันนี้......คุณทำประกันชีวิต
ให้กับพืช ของคุณหรือยัง....... ? 


คาร์บอ๊กซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า


โรคเหี่ยวเฉา โรครากเน่า โรคโคนเน่า
กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าแย่จะแก้ไม่ทัน 

ป้องกันไว้ก็หมดปัญหา ไม่ต้องมาตามแก้กันภายหลัง อีกทั้งยังไม่ต้องย้ายที่ปลูก
โรคเหี่ยวเฉา โรครากเน่า โรคโคนเน่า เป็นโรคทางดินเป็นโรคที่ถูกมองข้ามความสำคัญมาโดยตลอด และต้องมาแก้ปัญหากันทีหลังตลอด

โรคเหี่ยว
 โรคทางดิน เกิดจากเชื้อสาเหตุหลักที่พบเป็นประจำในประเทศไทยประมาณ 6 ชนิด แบ่งเป็น เชื้อรา 5 ชนิด ได้แก่ Fusarium sp. Pythium sp. Sclerotium sp. phytopthora sp. Rhizoctonia sp. และ เชื้อแบคทีเรีย 1 ชนิด คือ Ralstonia solanacearun ชื่อเดิม Pseudomonas solanacearum ส่วนใหญ่ในท้องตลาดก็จะมียาที่แนะนำให้ใช้กันเพื่อแก้ปัญหาก็จะมี อาทิ สารเมทาแลกซิล คาร์บ๊อกซิน ฟอสเฟอริค แอซิด ฯลฯ เป็นต้น แต่นานวันก็มักจะไม่ได้ผลเนื่องจากมีการใช้กันมานานอย่างต่อเนื่อง จนเชื้อโรคอาจดื้อยาได้

ปัญหาโรคทางดินจากเชื้อราอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ เชื้อแบคทีเรียทางดิน ซึ่งบ้านเรายังไม่มียาแบคทีเรียดีๆ สารที่แนะนำใช้ได้กับเชื้อแบคทีเรีย เช่น คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ออกไซด์ หรือ สเตรปโตมัยซิน อ๊อกซี่เตตราไซคลิน หรืออื่นๆ และตอนนี้ก็มีสาร non-ionic หลายยี่ห้อแนะนำให้ใช้กับเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งก็จะแก้ปัญหาได้ถ้าพื้นที่ตรงนั้นมีเชื้อตัวอื่นอยู่ที่ไม่ใช่เชื้อ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (Pseudomonas solanacearum) แต่ถ้าโชคร้ายพื้นที่ตรงนั้นมีเชื้อตัวนี้อยู่ ยาที่บอกมาก็แก้ไม่ได้ แล้วปัญหาโรคทางดินที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะทำอย่างไร พืชส่วนใหญ่ที่มักมีปัญหาจากโรคทางดินก็คือ พริก มะเขือเทศ ยาสูบ แตงกวา แตงโม แคนตาลูป เมล่อน ขิง เผือก หอม กระเทียม เป็นต้น

ส่วนใหญ่ที่แนะนำกันเวลาเจอโรคทางดิน ก็คือ ให้ใส่ปูนขาวปรับสภาพดิน ให้ใส่โดโลไมท์ ให้ย้ายที่ปลูก ปลูกพืชหมุนเวียน นั่นคือหลักการปรับปรุงดินเพื่อไม่ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ และการให้ย้ายที่ปลูกคือการหนีปัญหา แต่ความเป็นจริงไม่มีใครอยากย้ายที่ปลูกหรอก เพราะที่ดินไม่ใช่หากันง่ายๆ  และย้ายไปคิดว่าจะไม่มีปัญหาเหรอ บางคนก็แนะนำให้ใช้ เชื้อไตรโคเดอร์มา ส่วนใหญ่จะไม่ได้ผล เพราะเชื้อไตรโคเดอร์มา ใช้ได้กับเชื้อไฟทอปธอร่าเท่านั้นแต่เชื้อตัวอื่นแทบจะไม่ได้ผลเลย และข้อจำกัดของเชื้อจุลินทรีย์ก็มีมากเมื่อนำไปใช้สภาพธรรมชาติและไร่นา เรือกสวนจริงๆ

สิ่งสำคัญที่ต้องทำก็คือ การสอนให้เกษตรกรเรียนรู้ที่จะป้องกันเชื้อโรคยังไม่เข้าทำลาย เพราะเมื่อเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ลำต้นแล้วเข้าไปทำลายท่อน้ำท่ออาหารแล้ว ยาที่จะเข้าไปฆ่าเชื้อในลำต้นก็ทำได้ยาก เราอาจต้องกำจัดเชื้อที่ดินเป็นเบื้องต้นก่อน ไม่ใช่รอไปกำจัดเชื้อในลำต้นเมื่อพบอาการ  การปรับสภาพดินเพื่อไม่ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และการพ่นสารฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียทางดินตั้งแต่ก่อนปลูกคือ หนทางแก้ที่ดีที่สุด และไม่ต้องมาหาวิธีการแก้กันทีหลัง นี่คือ..สิ่งที่เกษตรกรต้องทำ ถ้าไม่อยากเจอความเสียหายจากโรคเหี่ยวเฉาหรือโรครากเน่า โคนเน่า ต่างๆเหล่านี้  ส่วนใครที่ปลูกพืชไปแล้วโดยเฉพาะพืชยืนต้นและเจอปัญหาโรคเหล่านี้จะลุกลาม เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆในแปลง ก็ต้องราดยาที่ดินเพื่อฆ่าเชื้อในแปลงเพื่อรักษาต้นที่เชื้อยังไม่เข้าก็จะ ช่วยได้ในระดับหนึ่ง และฉีดพ่นสารดูดซึมประสิทธิภาพสูงและไม่ใช่สารเคมีที่ใช้ๆกันอยู่ ซึ่งไม่มีทางรักษาและฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน
และจากความรุนแรง และปัญหาของเชื้อทางดินที่กล่าว จึงมีการพัฒนาสารตัวใหม่ที่ไม่ใช่กลุ่มเคมีกำจัดเชื้อโรค แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีผลต่อการทำงานของเชื้อโรคให้ตายลง
เราจึงพัฒนา "คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" (Carboxyl-Plus Extra) ขึ้นมา เป็น "กรดอินทรีย์ ที่กล้าท้าชนทุกโรค" ที่สามารถตอบทุกโจทย์ที่ผ่านมาของปัญหาเชื้อโรคทางดินได้ทั้งหมด รวมทั้ง เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่เป็นปัญหาและไม่มียาตัวไหนแก้ไขได้  คราวนี้..เกษตรกรก็มีทางออก ทางใหม่แล้ว และก็อยู่ที่ว่า "คุณ...จะเปลี่ยนความคิด หรือยัง?"  และคิดว่ามันน่าจะใช่หรือไม่  แต่ขอบอกว่า.."ประสบการณ์ที่ผ่านมากว่า 30 ปี กับปัญหานี้ มีทางนี้ทางเดียวที่เป็นทางออกในการรบรากับปัญหานี้จริง"
โรคเหี่ยว
โรคเหี่ยวเป็นโรคที่ทำลายพืชในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพืชตระกูล solanaceae ซึ่งมีพืชหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ ยาสูบ พริก พริกไทย และพืชตระกูลมะเขือต่างๆ อีกทั้งยังมีพืชตระกูลแตง  พืชตระกูลขิง ถั่วลิสงและพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด โรคเหี่ยวอาจเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย แต่ที่แก้ไขยากจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (Pseudomonas solanacearum E.F. smith) มีการระบาดทำความเสียหายแก่พืชเป็นจำนวนมากทุกปี เชื้อมีการระบาดรวดเร็วและรุนแรงมาก (อนงค์,2533)วนิดา(2539) รายงานว่า จาการจำแนก biovar ของเชื้อ Pseudomonas solanacearum ในประเทศไทยพบว่าเป็น biovar 3 ทำให้ E.F. Smith ได้ตั้งสายพันธุ์ของเชื้อในประเทศเอเซียเป็น Pseudomonas solanacearum var. asiaticum การทราบ biovar จะมีชีวิตอยู่ในดินและทนแห้งแล้งได้ต่างกัน ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงปริมาณเชื้อ biovar 3 จะลดลงอย่างรวดเร็ว การป้องกันโรคเหี่ยวจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลทางด้านนิเวศน์วิทยาของเชื้อใน ดินจะทำให้ปริมาณของเชื้อที่มีอยู่ในดินลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการลดปริมาณแหล่งเชื้อและการระบาดของโรคได้อีกทางหนึ่ง สำหรับการกำจัดโรคหลังจากการติดเชื้อทำได้ยากมากและไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
โรคเหี่ยว

โรคเหี่ยว

ในประเทศไต้หวัน (Chan และHsu, 1988) และประเทศเปรู (Eliphistone และ Aley, 1992) ได้มีการศึกษาการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ผสมกับยูเรียและแคลเซียมออกไซด์ พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคเหี่ยวในมะเขือเทศและมันฝรั่งได้ โดยอธิบายว่าการปรับปรุงดินมีผลทางอ้อมต่อจุลินทรีย์ดินอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณของเชื้อ P. solanacearum ในดิน การใส่อินทรีย์วัตถุ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารให้กับดินและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเก็บรักษาความชื้น ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน ช่วยดูดซับธาตุอาหารพืชไว้มากขึ้น และจะค่อย ๆ ปล่อยให้กับพืช จึงเป็นผลดีกับพืชที่ปลูก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นมูลสัตว์เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง โดยใช้ควบคู่กับปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดของดิน การปฏิบัติติดต่อกันหลายปี ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพร่วนซุยเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช การใส่ปูนมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งทางตรงและทางอ้อมและมีความ เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เพิ่มระดับแคลเซียมและแมกนีเซียมที่มากับปูนให้แก่พืชโดยตรง ทำให้สิ่งที่เป็นพิษต่าง ๆ ในดินที่เป็นกรดลดน้อยลงจนไม่เป็นอันตรายต่อพืช ทำให้โรคบางชนิดเจริญลุกลามได้ช้าลง ทำให้ระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชบางชนิดสูงขึ้น (ประสาทและวีพล, 2535) McGuire และ Kelman (1984) รายงานว่าการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในหัวมันฝรั่ง โดยให้ธาตุแคลเซียมในรูปแคลเซียมซัลเฟตกับต้นมันฝรั่ง ทำให้มีการสะสมของธาตุแคลเซียมในหัวมันฝรั่งและชักนำให้เนื้อเยื่อมีความ ต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมกับพืชที่ปลูกนอกจากจะมีผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหาร แล้วยังมีผลต่อการเพิ่มความต้านทานของพืชต่อการเกิดและการทำลายของโรคพืช ชนิดต่าง ๆ โดยทางอ้อม เนื่องจากภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เหมาะสม พืชที่ได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีสุขภาพดี ทำให้สามารถปรับตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การสร้างสารบางอย่างโดยขบวนการชีวเคมี หรือการพัฒนาโครงสร้างของเนื้อเยื่อภายในพืช ฯลฯ มีผลทำให้มีความต้านทานต่อการทำลายของโรคพืชหลายชนิด  แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาทางอ้อมเป็นพื้นฐานแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด
เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเจริญอยู่ในเศษพืชในดิน และสามารถแพร่ระบาดทางน้ำได้และเชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดไปกับหัวพันธุ์ ที่ใช้ปลูก ในสภาพพื้นที่ปลูกที่มีความลาดชันจึงเอื้อต่อการระบาดของเชื้อได้รวดเร็วและ รุนแรงมาก ทำให้เกษตรกรต้องย้ายพื้นที่เพาะปลูก ในพืชบางชนิดต้องการพื้นที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ทำให้เกิดการบุกรุกถางป่า การจัดการพื้นที่ การปรับปรุงดินเป็นเทคนิควิธีการอย่างง่าย ๆ มีต้นทุนต่ำและให้ผลดีกับความสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูกในระยะยาว แต่ในปัจจุบันเกษตรกรมีการปฏิบัติอยู่น้อยเนื่องจากเกษตรกรไม่เห็นความสำคัญ และขาดข้อมูลทางวิชาการที่สามารถยืนยันถึงประโยชน์ของการปรับปรุงดิน






ตัวอย่างของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรากันบ้าง

อาทิ โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Verticillium
(Verticillium wiltVerticillium spp. เป็นราที่พบในดินเกือบทุกชนิดและทุกแห่งโดยเฉพาะประเทศในเขตอบอุ่นและเขต ร้อนของโลก เป็นพาราไซท์เกาะกินและก่อให้เกิดโรคกับพืชต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางเกือบ 200 ชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักและวัชพืชต่างๆ เฉพาะผักที่ถูกเชื้อนี้เข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายได้แก่ แตงต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม กระเจี๊ยบ มะเขือยาว มะเขือเปราะ พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผักต่างๆ อีกหลายชนิดที่เชื้อราตัวนี้เข้าเกาะกินได้ แต่ไม่ทำความเสียหายให้มากเท่าพวกที่กล่าวแล้ว ได้แก่ พวกถั่วต่างๆ ทั้ง beans และ peas หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) กะหล่ำต่างๆ บร็อคโคลี่ คึ่นฉ่าย (celery) หอมหัวใหญ่ กระเทียม ผักสลัด (lettuce) ผักกาดหัว สำหรับธัญพืชพวกข้าวต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่ปรากฏว่าราพวก Verticillium ขึ้นเกาะกินและก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด

อาการโรค
แม้ ว่าพืชได้รับเชื้อตั้งแต่ในขณะที่เป็นต้นอ่อนแต่จะแสดงอาการให้เห็นจนกว่า ต้นโตขึ้นมาถึงระยะหนึ่งจึงเริ่มแสดงอาการแคระแกร็น งัน (stunt) หยุดการเจริญเติบโต ต่อมาต้น ใบจะเหลืองซีด และเหี่ยว ใบแก่ตอนล่างๆ ของต้นจะหลุบลู่ลงในที่สุดจะหลุดร่วงออกจากต้น อาการจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงลามสูงขึ้นไปยังส่วนบน ในที่สุดจะเหลืองและเหี่ยวตายทั้งต้น ในระยะนี้หากถอนต้นพืชขึ้นจากดินแล้วใช้มีดผ่ารากและลำต้นบริเวณโคนออกมาจะ พบว่าส่วนของท่อน้ำท่ออาหาร (vascular bundle) ถูกทำลายเน่า เป็นสีน้ำตาลเข้ม ในรายที่เป็นรุนแรงอาการเน่าจะลามออกมา เห็นที่ผิวนอกของรากและโคนต้นด้วย ในบรรดาผักต่างๆ กล่าวแล้วพบว่ามะเขือมอญหรือกระเจี๊ยบ มะเขือลูกใหญ่ เช่น มะเขือยาว มะเขือม่วงจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายและรุนแรงที่สุด ส่วนมะเขือเทศ มันฝรั่งนั้นค่อนข้างจะต้านทานโรคได้ดีกว่า เมื่อถูกเชื้อเข้าทำลายอาจไม่ถึงกับตายเพียงแต่แสดงอาการเหลืองและเฉาในใบ แก่ที่อยู่ตอนล่างๆ ของต้นนอกจากสิ่แวดล้อมจะเหมาะสมจริงๆ เท่านั้น


โรคเน่า


โรคเน่า
สาเหตุโรค : Verticillium albo-atrum และ V.dahliae
เป็นเชื้อรา imperfecti ใน Class Deuteromycetes อีกชนิดหนึ่ง เชื้อ Verticillium spp.ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในพืชต่างๆ ที่พบมีอยู่ด้วยกัน 2 species โดยที่ albo-atrum เป็นพวกที่มี dormant mycelium สีเข้ม และไม่มี microsclerotia ส่วน V. dahliae นั้นมีเส้นใยที่ไม่มีสี (hyaline) และมีการสร้าง microsclerotia เพื่อใช้ในการอยู่ข้ามฤดู นอกจาก 2 species นี้แล้วยังปรากฏว่ามี races ต่างๆ แยกออกไปอีกโดยบางครั้งพบว่า race ที่ต่างออกไปนั้นจะเข้าทำลายพืชเฉพาะชนิดไม่ซ้ำกัน
สำหรับการขยายพันธุ์ หรือการแพร่กระจาย Verticillium spp. จะมีการสร้างสปอร์หรือโคนิเดีย ลักษณะรูปไข่ หรือยาวรี หัวท้ายมน ไม่มีสี การเกิดอาจเกิดเดี่ยวๆ หรือเกาะกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ปลายก้าน conidiophore ที่แตกแขนงออกในลักษณะที่ตั้งตรงเป็นมุมฉาก สปอร์หรือโคนีเดียพวกนี้เมื่อแก่ก็จะหลุดออกจากก้านปลิวแพร่กระจายไปตามลม นํ้า และสิ่งที่เคลื่อนไหวทุกชนิด สปอร์พวกนี้หากไม่มีพืชให้ขึ้นเกาะกินจะมีชีวิตอยู่ไม่นานนัก จะฝ่อและแห้งไปในที่สุด ส่วนการอยุ่ข้ามฤดูจะอยู่ในลักษณะของ dark resting หรือ dormant mycelium และ microsclerotia ซึ่งจะพบอยู่ตามเศษซากพืชและตามดิน พวกนี้พบว่าสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะหากในดินนั้นมีพืชหรือวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของมันขึ้นอยู่ ได้เคยมีผู้ทดลองนำเอาเส้นใยชนิดนี้มา เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องทดลอง ปรากฏว่ามีชีวิตอยู่ได้นานถึง 13 ปี แม้อาหารที่ใช้เลี้ยงจะแห้งไปแล้ว

การเข้าทำลายพืชเกิดขึ้นได้โดยตรง (direct penetration) โดยผ่านทางรากขนอ่อน (root hair) แต่ถ้ารากเหล่านั้นมีแผลหักหรือขาดมาก่อนโดยวิธีใดก็ตามก็จะช่วยให้ราพวกนี้ เข้าไปสู่ภายในได้ง่ายและเร็วขึ้น หลังจากเข้าไปในพืชแล้วจะเจริญแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ตามระบบท่อส่งน้ำและอาหารภายในต้น แล้วสร้างสารพิษออกมาทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อตามบริเวณที่มันเจริญอยู่ให้ ตายหรือสูญเสียหน้าที่ไป
สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดและความ รุนแรงของโรคโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Verticillium sp. เป็นโรคที่ไวต่อความชื้นและอุณหภูมิของดินมาก แต่จะมากน้อยเท่าใดนั้นแตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืชที่มันเกาะกิน เช่น มะเขือยาว กระเจี๊ยบ การเข้าทำลายของเชื้อต้องการความชื้นเพียงเท่าที่พืชพวกนี้ต้องการ ในการเจริญเติบโตปกติเท่านั้น ส่วนมะเขือเทศ มันฝรั่ง ต้องการดินที่อิ่มน้ำ (saturated) อย่างน้อย 1 วัน หรือมากกว่าก่อนการเข้าทำลาย แต่สำหรับกล้าหรือต้นอ่อนของมะเขือเทศ หากรากถูกทำให้หัก ฉีก ขาด การเข้าทำลายก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าในดินจะมีความชื้นเพียงเล็กน้อย สำหรับอุณหภูมินั้น ปรากฏว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้ในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 10 ∘ซ.ขึ้นไปจนถึง 30 ∘ซ. ส่วนความเป็นกรดเป็นด่างของดินนั้นพบว่า Verticillium sp. เจริญเติบโตได้ดี ในดินที่ค่อนไปทางด่าง และลดความรุนแรง ลงหาก pH ต่ำ ลงมาถึง 5.0 แต่ถ้าต่ำลงมาถึง 4.0 จะหยุดการเจริญเติบโต
โรคเน่า



อีกตัวอย่างหนึ่งนะครับ

โรคเน่าและเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราSclerotinia sp.
(Sclerotinia rot and wilt)
เป็น โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราที่จัดว่าสำคัญของพืชผักอีกโรคหนึ่งได้มีการ กล่าวถึงโรคนี้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา จากรัฐฟลอริดา เมื่อปี ค.ศ. 1893 ปัจจุบันพบระบาดเป็นกับพืชต่างๆ อย่างกว้างขวางหลายชนิดหลายตระกูล ในพืชที่เพาะปลูกทุกแห่งของโลก
พืชที่เป็นโรคนี้เท่าที่พบมีมากกว่า 200 ชนิด ทั้งธัญพืช ไม้ดอก ไม้ผล พืชผัก และวัชพืช เฉพาะพืชผักอย่างเดียวก็มี มากมาย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว กะหล่ำปม แครอท ข้าวโพดหวาน บีท ถั่วต่างๆ ทั้งถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แตงร้าน แตงกวา แตงโม มะเขือเปราะ มะเขือยาว หอม กระเทียม หอมใหญ่ พริก ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกาดหอม กระเจี๊ยบ มันฝรั่ง สควอช ฟักทอง แรดิช มะเขือเทศ มันเทศ ฯลฯ

อาการโรค
อาการที่แท้จริงที่ปรากฏให้เห็นบนพืชโดยทั่วๆ ไป คือ
เน่า และเหี่ยวเฉา นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย เช่นอาการ damping-off ในต้นกล้าอาการเน่าของหัว หน่อ ผล และต้น อาการแผลสะเก็ดที่ต้น กิ่งก้าน (stem canker) อาการต้นแห้งไหม้ อาการรากและโคนเน่า เป็นต้น บางครั้งอาการแผลที่ปรากฏบนผลหรือหัว อาจมีลักษณะเน่าเป็นวงกลมที่เรียกว่า circular rot เชื้อ Sclerotinia ไม่ทำลายเฉพาะพืชที่ยังอยู่ในแปลงปลูกเท่านั้น แต่ยังทำความเสียหายให้กับผลิตผลของพืชหลังเก็บเกี่ยวทั้งในขณะอยู่ในโรง เก็บขณะขนส่ง และวางขายในตลาดด้วย

อาการโดยทั่วไปเริ่มจากแผลสีนํ้าตาล เข้ม ที่ผิวของสำต้นส่วนที่อวบอ่อน อยู่ใกล้หรือต่ำกว่าระดับดินลงไปเล็กน้อยอาการดังกล่าวเมื่อเริ่มเกิดขึ้น มักสังเกตไม่เห็นจนกระทั่งพืชแสดงอาการภายนอกคือใบแก่ที่อยู่ส่วนล่างๆ ของต้นซีดจางลงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วเหี่ยว พวกผักกาดต่างๆ บางครั้งไม่แสดงอาการเหลืองแต่ก้านใบจะอ่อนพับลู่ลง ขณะที่อาการเหี่ยวทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น บริเวณแผลที่ต้นจะปรากฏเส้นใยสีขาวคล้ายปุยฝ้ายของเชื้อราเกิดขึ้นปกคลุมแผ่ ขยายลุกลามออกไปโดยรอบ เป็นรัศมีวงกลมจากจุดเริ่มต้น ในกรณีของต้นกล้าเส้นใยจะเกิดลามคลุมไปทั่วทั้งต้น ทำให้ต้นกล้าตายอย่างรวดเร็ว การสร้างเส้นใยเป็นไปอย่างรวดเร็วหากความชื้นสูง นอกจากปรากฏบนส่วนของต้นที่อยู่เหนือพื้นดินแล้ว ส่วนของรากที่อยู่ใต้ดินก็ถูกเส้นใยเหล่านั้นลามลงไป ทำลายเช่นกัน หากการเข้าทำลายเกิดขึ้นบนส่วนของลำต้น กิ่งก้าน จะเกิดแผลสะเก็ด (canker) สีน้ำตาล อาจไม่มีเส้นใยเกิดขึ้นให้เห็นเหมือนบนส่วนที่อวบอ่อน โดยเฉพาะหากอากาศแห้ง และเมื่อแผลนี้เป็นรอบกิ่งต้นเมื่อใดก็จะทำให้เกิดแห้งตาย (blight) ขึ้นกับส่วนนั้นทั้งหมด
สัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของโรคที่เกิดจากเชื้อ Sclerotinia sp. นอกจากการเกิดปุยสีขาวคล้ายสำลีของเส้นใยบริเวณแผลแล้ว ในระยะปลายๆ ของการทำลายจะมีการสร้างเม็ด sclerotia กลมเล็กๆ ขนาดหัวเข็มหมุดหรือเมล็ดผักกาดสีน้ำตาลหรือดำ (เมื่อเริ่มเกิดจะมีสีขาว) อยู่ตามผิวดินบริเวณโคนต้นหรือตามแผลแคงเกอร์เป็นจำนวนมากเห็นได้ชัดเจน

โรคเน่า



สาเหตุโรค : Sclerotinia sclerotiorum
เป็น เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคกับพืชที่มีอยู่ด้วยกันหลายตัว แต่ที่พบเสมอและรู้จักกันดีโดยเฉพาะที่เป็นกับพืชผักต่างๆ ได้แก่ Sclerotinia sclerotiorum เป็นราใน Class Ascomycetes ขยายพันธุ์โดยการเกิด ascospore ภายในถุง ascus บน fruiting body รูปถ้วยหรือจานแบนๆ ที่งอกจากเม็ด sclerotium อีกทีหนึ่ง ascospore ระบาดได้ดีโดยลม แต่จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนักหากไม่ตกลงบนพืชหรือพืชอาศัย จะตายภายในเวลาเพียง 3-4 ชั่วโมง โดยเฉพาะหากมีสภาพอากาศที่แห้ง แต่ถ้าตกลงบนพืชที่จะงอกและเข้าทำลายพืชได้ภายใน 2 วัน และเกิดอาการให้เห็นภายใน 4-5 วันหลังจากนั้น
สำหรับเม็ดสเคลอโรเทีย มักจะสร้างขึ้นทั้งเพื่อใช้ในการระบาดและการอยู่ข้ามฤดู ปกติสเคลอโรเทียมีความทนทาน ต่อสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติได้ดีในสภาพที่แห้งและอยู่ได้นานถึง 7 ปี แต่ถ้าตกไปอยู่ในน้ำหรือถูกทำให้เปียกชื้นจะถูกทำลายหรือเน่าเสียไปในเวลา สั้น อย่างไรก็ดี สำหรับตัวเส้นใยหรือ mycelium เองนั้น ค่อนข้างต้องการความชื้นสูง ทั้งในการเจริญเติบโตและการเข้าทำลายพืช อาการโรคจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเสียหายรุนแรงในสภาพอากาศที่อิ่มตัวด้วย ไอนํ้า หมอกจัด ท้องฟ้าครึ้ม มีฝนตกปรอยๆ เป็นละออง ปลูกพืชที่เว้นระยะห่างระหว่างต้นน้อยแสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้นหรือใบพืชคลุม ดินหมดตลอดเวลา หากมีเชื้อหรือการติดโรคขึ้นก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและเสียหายมาก สำหรับอุณหภูมินั้น Sclerotinia เป็นราที่เจริญได้ดีในอุณหภูมิ ปานกลางค่อนมาทางเย็นเล็กน้อยระหว่าง 16-22° ซ.








คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (CARBOXYL-PLUS Extra)


กรดอินทรีย์อัจฉริยะ   "หนึ่งเดียวในโลก  ที่กล้า..ท้าชนทุกโรค"
 โรคเหี่ยวเฉาพริก
 โรคเหี่ยวเฉามะเขือเทศ
 โรคเหี่ยวเฉามันฝรั่ง
 โรคเน่าเละกะหล่ำ
 โรคแข้งดำยาสูบ
 โรคโคนเน่าต่างๆ
 โรคใบด่างมะละกอ
 โรคใบหงิกงอแตงโม
 โรคส้มโอขี้กลาก
 ฯลฯ


กันไว้ดีกว่าแก้....
เพื่อความมั่นคงในชีวิตของพืชและรายได้ของคุณ
ปัญหาโรคพืชจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา
จะหมดไป  มั่นใจ... “คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า





เกษตรกร...........ที่รัก
จริงไหมครับ.......ที่ท่านปลูกพืชแล้ว
ใครก็ไม่อยากให้พืชเป็นโรค
ใครก็ไม่อยากให้พืชเหี่ยวเฉา
ใครก็ไม่อยากให้พืชเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชรากเน่า-โคนเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชเตี้ยแคระ
ใครก็ไม่อยากให้พืชใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ต่างๆนานา

ปัญหา ต่างๆ เหล่านี้....  ช่างบั่นทอนความรู้สึก บั่นทอนกำลังกาย กำลังใจ ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยอ่อน อ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงเสียเต็มที เพราะต้องวิตกกังวลกับผลกระทบอีกหลายเรื่องที่จะตามมา ไม่ว่าจะทุนที่ลงไป แรงงานที่ทุ่มลงไป ถ้าขาดทุนแล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา ผลผลิตของเราจะเหลือสักเท่าไร จะคุ้มกับหนี้สินไหม ถ้าปลูกพืชเราหวังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยทุกต้นทุกใบ แต่กลับมาเห็นมัน”เหี่ยวเฉา” ลงต่อหน้าต่อตาต้นแล้วต้นเล่า จิตใจก็เริ่มหดหู่ไม่รู้จะเหลือสักเท่าไร คิดแล้วก็เริ่มท้อแท้ใจ จะแก้ไขก็ไม่ทันการ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์บ่อยๆว่า “ก็รู้อยู่แล้วว่า...ปัญหามันเกิดขึ้นเป็นประจำ ปลูกกี่ปีกี่ครั้งมันก็ต้องเจอ “เหี่ยวเฉา” ทำลาย  ทำไมไม่รู้จักป้องกันหรือแก้ไขไว้เสียแต่ตอนแรกล่ะตั้งแต่ลงมือปลูก เกษตรกรบางคนก็เถียงว่า “ป้องกันไว้แล้ว” แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ป้องกันมันไม่ได้ผลซะทีจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี เห็นมัน “เหี่ยวเฉา” มาทีไรใจคอรู้สึกไม่ดีเลย...เครียด


เกษตรกร.....ที่รักครับ  บัดนี้..เรามีข่าวดีมาบอก  
เป็นโชคดีของเกษตรกรที่รักแล้ว ครับ
เพราะ บัดนี้ “ออร์กาเนลไลฟ์” มีผลิตภัณฑ์ดีๆ มาบอก เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารอินทรีย์ที่จะมาป้องกันและคุ้มครองโรคพืชที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ  โรคเน่า โรคเหี่ยวเฉาใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดกับพริก มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง มะละกอ มะระ ผักกาด กะหล่ำ ขิง หรืออื่นๆ
คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า สารอินทรีย์อัจฉริยะหนึ่งเดียวในโลกที่กล้าท้าชนทุกโรคเน่า โรคเหี่ยวเฉา และโรคใบด่างใบหด ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่กลัวโรคเหล่านี้

“คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากชุดปฏิบัติการ “ต้านความจน”  จาก ออร์กาเนลไลฟ์
 การลดความเสียหายของพืชจากการทำลายของโรคร้ายแรง จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทางอ้อม ทั้งนี้เพราะเราจะได้รับผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ลดความเสี่ยง จากการขาดทุนจนอาจเกิดหนี้สิน และทำให้ “ความจน” ติดตามมา

 มาร่วมกันป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคร้ายแรง เหมือนการทำ "“ประกันชีวิต" ..” ให้กับพืชของคุณ




เหตุผล..ว่าทำไม  ?  ..ท่านต้องทำ"ประกันชีวิต"ให้กับพืชของท่าน
 พืช เองก็เหมือนคนเราที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รบกวน เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้สูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้
 สมมุติท่านปลูกพริก 1 ไร่ จำนวน 3,000 ต้น
ท่าน ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้นหนึ่งจะได้ผลผลิต 2 กิโลกรัม/ต้น  ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม  ถ้าพริกกิโลกรัมละ 10 บาท ต้นหนึ่งจะมีรายได้ต้นละ 20 บาท
 1 ไร่     ท่านจะมีรายได้ (20 x 3,000 ต้น) = 60,000 บาท 
 แต่ถ้าพริกของท่านเจอโรคเหี่ยวเฉาตายไปซัก 1,000 ต้น
รายได้ของท่านก็จะหายไป (1,000 x 20 บาท ) =  20,000 บาท
  ท่านลองคิดดู ... ท่านเสียหายไหม ?

  แต่ถ้าท่านทำ“ประกันชีวิต” ให้พริกของท่าน โดยใช้   คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า  ฉีดพ่นป้องกัน จะเป็นอย่างไร……

คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า   1 ขวด ราคาประมาณประมาณ 700 บาท ผสมได้ 10 ปี๊บ 
เฉลี่ยปี๊บละ 70 บาท  1 ไร่ ฉีดพ่นครั้งละ 3 ปี๊บ คิดเป็นค่าใช้จ่าย 3x70 = 210 บาท 
ถ้าฉีดพ่น 4 ครั้ง ( 210 x 4 ) = 840 บาท
ท่านลงทุนเพียงแค่ 840 บาท สามารถป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปตั้ง 20,000 ได้
แบบนี้ไม่เรียกว่า  “คุ้ม”  แล้วจะเรียกว่าอะไร? หล่ะครับท่าน
(ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก Thaikasetsart.com )





คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า 
สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน

คุณสมบัติพิเศษ
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขื่อเทศ มันฝรั่ง , โรคเน่าและกระหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ

อัตราการใช้ 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น



องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น









กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว



• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)









อีเรเซอร์-วัน 

สารอินทรีย์กำจัดเชื้อโรคพืชแบบฉับพลัน ฟื้นฟูและปรับสภาพหน้ายาง

คุณสมบัติ

- เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-วัน สามาถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากว่า 99 % ในทันทีหลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

- ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็วโดยอีเรเซอร์-วัน สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเกอร์ โรคยอดเน่า และโรคเน่าอื่นๆ เป็นต้น

- ช่วยทำให้หน้ายางอ่อนนุ่ม ทำให้สามารถกรีดยางได้ง่ายขึ้น น้ำยางไหลดีขึ้น

- ช่วยปรับสภาพหน้ายาง ทำให้สามารถกรีดยางได้มากขึ้น บ่อยครั้งขึ้น

- ช่วยฟื้นฟูหน้ายางตาย จากการติดเชื้อต่างๆ และสภาพต้นโทรม

- ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค ลดการติดเชื้อบริเวณหน้ายาง ทำให้ต้นยางแข็งแรงขึ้น

- ช่วยเพิ่มน้ำยาง ทั้งปริมาณและคุณภาพน้ำยางข้นขึ้น




ส่วนประกอบที่สำคัญ
- ส่วนผสมของกรดอินทรีย์ (Mixture of Organic Acids)

- สารเสริมประสิทธิภาพ (Adjuvante)


อัตราการใช้

สำหรับ ยางพารา : 20 ซีซี ต่อน้ำ 3-5 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณหน้ายางทุกๆ 7-10 วัน ใช้ได้กับต้นยางทุกพันธ์ และต้นยางทุกช่วงอายุที่ให้ผลผลิตน้ำยาง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.organellelife.com/pdf/rubber.pdf )

สำหรับพืชทั่วไป : ใช้อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณที่ติดเชื้อให้ทั่ว เมื่อพบการระบาดทุกๆ 7 วัน



วัคซีนพืช   "อีเรเซอร์-วัน"  +  "คาร์บ็อกซิล พลัส-เอ็กซ์ตร้า"



 





สนใจทำประกันชีวิตพืชของท่าน

ติดต่อได้ที่ 084 - 8809595,084-3696633
www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
www.facebook.com/PathwayEraser1
Line ID :  @organellelife.com

คลิกที่ลิ้งค์เพื่อปรึกษาสอบถามเพิ่มเติมทางแชทไลน์ >> https://lin.ee/nTqrAvO





วัคซีนพืช "หยุดไวรัสพืช"

วัคซีนพืช

หยุดไวรัสพืช


กล้า ท้า ลอง " วัคซีนพืช "
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model
พืชต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้"องค์ความรู้"ใหม่ๆกันดีไหม
มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋


1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น

5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By Organellelife



1. ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One )

สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น






2. ซาร์คอน ( SARCON)

เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ

2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ

2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น


     กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช









3. อีเรเซอร์-1 (Eraser-1)


สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น"วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น



ภาพพืชเจอไวรัส


































ภาพพืชปลอดไวรัส





















แมลงหวี่ขาว


แมลงหวี่ขาว อาจจะไม่ใช่แมลงที่พบเห็นทั่วไปได้บ่อยนัก แต่ก็เป็นศัตรูพืชอีกตัวหนึ่งซึ่งสร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ได้อย่างน่ากลัว อาทิ เช่น พืชตระกูลยาสูบ พริก มะเขือเทศ แตงกวา แตงโม แมลงหวี่ขาวจะระบาดมากในช่วงที่อากาศร้อน แล้ง อากาศแห้งๆ และสิ่งที่น่ากลัวที่จะติดตามมาจากการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาว นั่นก็คือ เชื้อไวรัส ที่จะก่อให้เกิดอาการใบด่าง ใบหงิก ใบหด ยอดหด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิตได้มาก

 แต่ถ้าหากเรารู้จักป้องกันแมลงหวี่ขาวไว้ได้เสียแต่เนิ่นๆ ความเสียหายก็จะไม่มาเยือนพืชของเรา
มาบริหารจัดการกับ"แมลงหวี่ขาว"และ"เชื้อไวรัส" ก่อนที่จะสายเกินไป "กันไว้ดีกว่าแก้"กันดีกว่าไหม?..ครับ
หลักการหยุดไวรัสใบหด(TLCV)ในพืชตระกูล Solanaceae อาทิ ยาสูบ มะเขือเทศ พริก มันฝรั่ง ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้งไวรัสใบด่าง ใบหด ใบหงิก

1.อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

2.อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช




การบริหารจัดการพืชตระกูลแตงที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่งทาง
เบื้องต้น อย่าลืม..ป้องกันแมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเชื้อไวรัส ตลอดจนโรคราน้ำค้างด้วย"ซิกน่า+ซาร์คอน" การป้องกันที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
และเมื่อพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค"ราน้ำค้าง" โรคที่ทำความเสียหายได้รวดเร็ว
ให้ฉีดพ่นแบบประหารชีวิตราน้ำค้างด้วย"อีเรเซอร์-1" ที่สำคัญถ้ามีฝนตกชุกอาจเกิดอาการโรคโคนเน่าหรือต้นเน่าหรือโรคเหี่ยวเฉาได้ ให้เราเอา"คาร์บ๊อกซิล-พลัส" ฉีดพ่นป้องกันไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก็จะดี นี่คือ..วิธี่ที่ดีที่สุดที่จะทำ"ประกันชีวิต" ให้กับแตงกวาของเรา
แตงกวาของเราโตเร็ว แตกยอด แตกใบดี อย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าเราฉีดพ่นให้มันด้วย"ไบโอเจ็ท" สุดยอด"ฮอร์โมน อาหารเสริม โปรตีน สารให้พลังงาน"ชั้นดีที่ไม่มีใครเทียบ
สุดท้ายก็มาถึงซึ่งช่วงสำคัญที่เราจะเอา"ผลผลิตที่สูง ผลผลิตที่สวย"ต้องใช้"ตัวช่วย"คู่นี้เลย"คู่บุญ"..ซูการ์+เพาเวอร์-5 แตงกวาจะ"มหาดก" ดอกดก ผลดก ผลสวย เนื้อแน่น น้ำหนักดี มีผลสม่ำเสมอไม่เน่าเสียง่าย เก็บขายจนเบื่อ เลยทีเดียวเชียวแหล่ะครับ ย้ำอีกครั้ง..อย่าพลาดพลั้งเรื่อง"โรคไวรัส" กับ"ราน้ำค้าง" ต้องวางใจใช้"วัคซีนพืช"..ซิกน่า+ซาร์คอน" ก่อนที่จะสายเกินแก้ ถ้าแย่จะแก้ไม่ทัน นะครับ
หมายเหตุ: ที่สำคัญทุกอย่างปลอดสารพิษ ชีวิตยืนยาว






ปรึกษาเรา 
084-8809595, 084-3696633
📲Line ไอดี @organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะคะ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ค่ะ http://line.me/ti/p/%40organellelife.comhttp://line.me/ti/p/%40organellelife.com