1 ในปัจจัย 4 ของพืช ก็คือ ยารักษาโรค เช่นกัน
คนเราเป็นโรค ไม่สบาย ก็ยังวิ่งหาหมอ วิ่งหายา แต่เวลาพืชเป็นโรค ไม่สบายจะเป็นจะตาย จะมีใครเข้าใจพืชบ้างหนอ?
เวลาคนเราไปหาหมอ ยังบอกได้ว่าเป็นอะไรมา "เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ปวดท้อง เจ็บคอ" ก็บอกหมอไป
แต่..พืชเอ๋ย เจ้าเป็นโรคอะไร จะมีใครเข้าใจบ้าง ว่าต้องรักษาอย่างไร เพราะไม่รู้จะบอกอย่างไรดี ไม่มีปากพูดกับเขา เจ้าของก็เดาเอาเองว่าเจ้าเป็นโรคอะไร เจ้าติดเชื้ออะไรมา แล้วก็หายามาฉีดพ่นรักษาให้เจ้า ไม่หายก็เปลี่ยนยาใหม่จนกว่าจะใช่ พอใช้ไปใช้มาก็ดันมาดื้อยากันอีก เพราะเชื้อโรคปรับตัวง่ายก็เลยไม่ค่อยจะหายกลายเป็นดื้อยาไป
ออร์กาเนลไลฟ์ เข้าใจปัญหาที่รักษาโรคด้วยยาที่เป็นสารเคมีได้ดี มันน่าจะมีวิธีอื่นอีกไหม ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อโรคอย่างที่เป็นมา
และก็ต้องการรู้ว่า พืชจ๋า.. เจ้าติดเชื้ออะไรมา ติดจากภายในหรือภายนอก ลองบอกเรามาและเล่าให้เรารู้หน่อยได้ไหม?
ถ้าติดเชื้อภายใน อาจจะเรื่องใหญ่ เพราะต้องแก้ไขให้ตรงจุด เกิดอาการอักเสบภายใน คงต้องใช้ยา
"แก้อักเสบ" ถึงจะ "ใช่"
แล้วมัน "อักเสบ"อย่างไรกันเล่า "รากเน่า โคนเน่า ยอดเน่า ผลเน่า" ใช่ไหม
ถ้าใช่!! คงต้องไม่ปล่อยให้เชื้อโรคร้ายมันลอยนวล ต้องเอามันให้อยู่หมัด เราถนัดอยู่แล้ว
"อักเสบ" แบบไหนกันอีกเล่า "เหี่ยวเฉา เหี่ยวเหลือง เหี่ยวเขียว" เสียวไปตามๆกัน ต้องกินยาป้องกันและกำจัดแบบไหนให้เกิดผล ถ้าอักเสบจากภายใน คงต้องใช้ยารักษาจากภายในถึงจะ "ใช่"คงต้องให้ "คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" ออกโรงกันล่ะมั๊งคราวนี้ อย่างงั้นไม่มีทาง "เอาอยู่"
เพราะ "คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า"(Carboxyl -Plus Extra) มันสามารถฆ่าเชื้อโรคร้ายจากภายในให้ตายแบบเลือดเย็น ตายอย่างทุรนทุราย ตายอย่างทรมาน เพราะร่างกายหมดแรง หมดพลังงานที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป ลองดูกลไกการทำงานในการ "ฆ่า" เชื้อโรคร้ายด้วยวิธีนี้ดูซะก่อนซิ.. มันสุดยอดเลย เชื้อโรคมันเลยซวยไปเพราะไม่คิดว่าจะมีกลวิธีที่โหดเหี้ยมเช่นนี้ มันช่าง.. "อำมหิตและเลือดเย็น" น่าดูเลยเชียว
อ้าว..แล้วถ้าติดเชื้อรุนแรงที่ภายนอกมาเล่า เราจะเอาอย่างไรกันดี มีวิธีที่ปลอดภัยและไม่ให้มันต่อต้านและดื้อยาไหม? อยากบอกว่า.."มี" และ "ไม่ยาก" เลยพี่น้อง
ถ้า..ติดเชื้อภายนอกมา ไม่ว่าจะเป็นเชื้ออะไร ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร " ใบจุด ใบด่าง ใบลาย ใบไหม้ ใบเป็นแผล" แก้ไขและจัดการให้มันตายได้โดยง่าย ด้วยการฟาดมันให้ตายเสมือนโดน"น๊อค" ด้วย "ไม้หน้าสาม" ฟาดจนสลบเหมือดและตายคามือ ด้วย.."อีเรเซอร์-1"(ERASER-1) สารมหัศจรรย์ที่ฆ่ามันได้เฉียบพลัน ให้มันตายภายในไม่กี่นาที โดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาใดๆ ด้วยกลไกการทำงานของสารสำคัญที่เชื้อโรคมันปรับตัวไม่ทัน มันก็ต้องตาย
นี่คือ..หลักการง่ายๆ แต่ได้ผลบนพื้นฐานธรรมชาติของเชื้อโรค กับทางออกในการแก้ปัญหาโรคพืชที่สำคัญแบบไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีที่เป็น อันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค แต่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคร้าย
โรคภายภายนอก (โรคทางใบต่างๆ อาทิ ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส แคงเกอร์ ใบไหม้ ใบจุด ใบลาย)
โรคราน้ำค้าง โรคใบลาย |
โรคใบด่าง ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบตะปุ่ม ตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง |
โรคแอนแทรคโนส กิดจากเชื้อ รา Collectotrichum
gloeosporioides และ C.
capcisi
ที่มา : http://www.pmc06.doae.go.th/chilly/Collectotrichum_chilly.htm
|
โรคแคงเกอร์ |
โรคภายใน (โรคเน่า โรคเหี่ยว)
โรคใบหด ใบหงิก |
โรคเหี่ยว |
โรคเหี่ยว |
โรคเน่า |
โรคเน่า |
โรคเน่า |
คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (CARBOXYL-PLUS Extra)
กรดอินทรีย์อัจฉริยะ "หนึ่งเดียวในโลก ที่กล้า..ท้าชนทุกโรค" ”
โรคเหี่ยวเฉาพริก
โรคเหี่ยวเฉามะเขือเทศ
โรคเหี่ยวเฉามันฝรั่ง
โรคเน่าเละกะหล่ำ
โรคแข้งดำยาสูบ
โรคโคนเน่าต่างๆ
โรคใบด่างมะละกอ
โรคใบหงิกงอแตงโม
โรคส้มโอขี้กลาก
ฯลฯ
กันไว้ดีกว่าแก้....
เพื่อความมั่นคงในชีวิตของพืชและรายได้ของคุณ
ปัญหาโรคพืชจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา
จะหมดไป มั่นใจ... “คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า
เกษตรกร...........ที่รัก
จริงไหมครับ.......ที่ท่านปลูกพืชแล้ว
ใครก็ไม่อยากให้พืชเป็นโรค
ใครก็ไม่อยากให้พืชเหี่ยวเฉา
ใครก็ไม่อยากให้พืชเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชรากเน่า-โคนเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชเตี้ยแคระ
ใครก็ไม่อยากให้พืชใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ต่างๆนานา
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้.... ช่างบั่นทอนความรู้สึก บั่นทอนกำลังกาย กำลังใจ ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยอ่อน อ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงเสียเต็มที เพราะต้องวิตกกังวลกับผลกระทบอีกหลายเรื่องที่จะตามมา ไม่ว่าจะทุนที่ลงไป แรงงานที่ทุ่มลงไป ถ้าขาดทุนแล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา ผลผลิตของเราจะเหลือสักเท่าไร จะคุ้มกับหนี้สินไหม ถ้าปลูกพืชเราหวังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยทุกต้นทุกใบ แต่กลับมาเห็นมัน "เหี่ยวเฉา” ลงต่อหน้าต่อตาต้นแล้วต้นเล่า จิตใจก็เริ่มหดหู่ไม่รู้จะเหลือสักเท่าไร คิดแล้วก็เริ่มท้อแท้ใจ จะแก้ไขก็ไม่ทันการ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์บ่อยๆว่า “ก็รู้อยู่แล้วว่า...ปัญหามันเกิดขึ้นเป็นประจำ ปลูกกี่ปีกี่ครั้งมันก็ต้องเจอ “เหี่ยวเฉา” ทำลาย ทำไมไม่รู้จักป้องกันหรือแก้ไขไว้เสียแต่ตอนแรกล่ะตั้งแต่ลงมือปลูก เกษตรกรบางคนก็เถียงว่า “ป้องกันไว้แล้ว” แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ป้องกันมันไม่ได้ผลซะทีจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี เห็นมัน “เหี่ยวเฉา” มาทีไรใจคอรู้สึกไม่ดีเลย...เครียด
เกษตรกร.....ที่รักครับ บัดนี้..เรามีข่าวดีมาบอก
เป็นโชคดีของเกษตรกรที่รักแล้ว ครับ
เพราะบัดนี้ “ออร์กาเนลไลฟ์” มีผลิตภัณฑ์ดีๆ มาบอก เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารอินทรีย์ที่จะมาป้องกันและคุ้มครองโรคพืชที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ โรคเน่า โรคเหี่ยวเฉาใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดกับพริก มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง มะละกอ มะระ ผักกาด กะหล่ำ ขิง หรืออื่นๆ
"คาร์บ๊อกซิล- พลัส เอ็กซ์ตร้า" สารอินทรีย์อัจฉริยะหนึ่งเดียวในโลกที่กล้าท้าชนทุกโรคเน่า โรคเหี่ยวเฉา และโรคใบด่างใบหด ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่กลัวโรคเหล่านี้
“คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากชุดปฏิบัติการ “ต้านความจน” จาก ออร์กาเนลไลฟ์
การลดความเสียหายของพืชจากการทำลายของโรคร้ายแรง จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทางอ้อม ทั้งนี้เพราะเราจะได้รับผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ลดความเสี่ยง จากการขาดทุนจนอาจเกิดหนี้สิน และทำให้ “ความจน” ติดตามมา
มาร่วมกันป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคร้ายแรง เหมือนการทำ "“ประกันชีวิต" ..” ให้กับพืชของคุณ
เหตุผล..ว่าทำไม ? ..ท่านต้องทำ"ประกันชีวิต"ให้กับพืชของท่าน
พืชเองก็เหมือนคนเราที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆรบกวน เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้สูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้
สมมุติท่านปลูกพริก 1 ไร่ จำนวน 3,000 ต้น
ท่านตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้นหนึ่งจะได้ผลผลิต 2 กิโลกรัม/ต้น ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม ถ้าพริกกิโลกรัมละ 10 บาท ต้นหนึ่งจะมีรายได้ต้นละ 20 บาท
1 ไร่ ท่านจะมีรายได้ (20 x 3,000 ต้น) = 60,000 บาท
แต่ถ้าพริกของท่านเจอโรคเหี่ยวเฉาตายไปซัก 1,000 ต้น
รายได้ของท่านก็จะหายไป (1,000 x 20 บาท ) = 20,000 บาท
ท่านลองคิดดู ... ท่านเสียหายไหม ?
แต่ถ้าท่านทำ“ประกันชีวิต” ให้พริกของท่าน โดยใช้ คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า ฉีดพ่นป้องกัน จะเป็นอย่างไร……
คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า 1 ขวด ราคาประมาณประมาณ 700 บาท ผสมได้ 10 ปี๊บ
เฉลี่ยปี๊บละ 70 บาท 1 ไร่ ฉีดพ่นครั้งละ 3 ปี๊บ คิดเป็นค่าใช้จ่าย 3x70 = 210 บาท
ถ้าฉีดพ่น 4 ครั้ง ( 210 x 4 ) = 840 บาท
ท่านลงทุนเพียงแค่ 840 บาท สามารถป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปตั้ง 20,000 ได้
แบบนี้ไม่เรียกว่า “คุ้ม” แล้วจะเรียกว่าอะไร? หล่ะครับท่าน
(ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก Thaikasetsart.com )
สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน
คุณสมบัติพิเศษ
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขื่อเทศ มันฝรั่ง , โรคเน่าและกระหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ
อัตราการใช้ 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)
กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )
กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล
กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น
กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra
• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล
• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว
• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด
• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)
กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )
กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล
กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น
กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra
• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล
• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว
• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด
• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)
อีเรเซอร์-1 (Eraser-1)
สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น "วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป
การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)
คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1
ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัส เชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ ) หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจน ตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วน ต่าง ๆ ของพืชได้ดี อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัส กับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
คุณประโยชน์
ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น
เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที
เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้
อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์
เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว
ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One )
สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและ
แมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect
) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ
SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway
และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid ,
Malate Compounds เป็นต้น
พริกเป็นโรค |
ผลผลิตดี ปลอดโรค |
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model
พืชต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้"องค์ความรู้"ใหม่ๆกันดีไหม
มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋
1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.
3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช
4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น
5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By Organellelife
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. 084-8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com (พิมพ์@ด้วยค่ะ)
www.organellelife.com
คลิกที่ลิ้งค์เพื่อปรึกษาสอบถามเพิ่มเติมทางแชทไลน์ >> https://lin.ee/nTqrAvO
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น